ชาวเน็ตร่วมแสดงความยินดีหลัง น้องบิว ชนเผ่าซาไก หลังสอบติดพยาบาลศาสตร์ฯ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้สำเร็จ เพจเฟซบุ๊ก ช้างเผือก ได้โพสต์ข้อความชื่นชม นางสาวบิว ศรีธารโต หรือ น้องบิว นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์42 จังหวัดสตูล สาวน้อยกลุ่มชาติพันธุ์ชาวมานิ หรือ ชนเผ่าซาไก ที่สอบติดคณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี หลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต
โดยทางเพจระบุว่า “ขอแสดงความยินดีกับ “น้องบิว” น.ส.บิว ศรีธารโต..สาวน้อยชนเผ่ามานิ หรือซาไก จ.สตูล นร.โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ น้องได้สอบติด คณะพยาบาลศาสตร์ฯ
โดยน้องบิว มีผลการเรียนดี ได้เกรดเฉลี่ย 3.08 น้องบิว บอกว่า หลังทราบว่าสอบติด คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี หลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต พ่อแม่และทุกคน ในครอบครัวชาวเผ่ามานิ ดีใจมากๆ และภาคภูมิใจ กับการสอบได้ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นความฝัน และความตั้งใจของตนตั้งแต่แรกแล้ว
ซึ่งเป้าหมายของน้องบิว..หลังจบการศึกษา ต้องการกลับไปเป็นพยาบาล ทำงานในหมู่บ้าน เพื่อดูแลชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ และครอบครัวชาวเผ่ามานิด้วยกัน เพื่อให้มีคุณภาพชีวิต และด้านอนามัยที่ดีขึ้น และความฝันของ “น้องบิว” ก็อยากเป็น “พยาบาลทหาร” เพื่อรับใช้ชาติอีกด้วย!!”
เกิดเรื่องสุดประทับใจ หลังจากที่ผู้ใช้ TikTok คนหนึ่งโพสต์คลิปวินาทีที่พ่อยอมนั่งวินมา ให้เงินลูก หลังลูกบ่นว่าเงินไม่พอใช้ กลายเป็นกรณีสุดซึ้งหลังจากที่ผู้ใช้ TikTok รายหนึ่งได้โพสต์คลิปของคุณพ่อของเธอที่ถ่อมาถึงที่ทำงาน เพื่อเอาเงินมาให้เธอ โดยข้อความกำกับคลิประบุว่า “ความที่พ่อเป็นห่วง กลัวลูกสาวจะไม่มีเงินกินข้าว นางก็นั่งวินเพื่อเอาเงินมาให้เรา พ่อบอกว่าเห็นพูดว่าไม่มีตัง เลยเอามาให้ รักพ่ออะ”
โดยจากคลิปแสดงให้เห็นว่า ผู้เป็นพ่อที่ต้องใช้ไม้เท้าช่วยเดิน ได้นั่งรถจักรยานยนต์ เพื่อเอาเงินมาให้ลูกของตัวเอง เพราะจำได้ว่าลูกพูดว่าไม่มีเงินใช้ โดยพ่อได้ยื่นเงิน 100 บาทให้เธอ
ซึ่งหลังจากที่คลิปดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ออกไป ชาวเน็ตก็ได้เข้ามาคอมเม้นท์และแชร์คลิปดังกล่าวเป็นอย่างมาก โดยชาวเน็ตได้เข้าชมความน่ารักของคุณพ่อ ที่เป็นห่วงลูกสาว และหลายคนก็ต่างมาเล่าเรื่องราวที่คุณพ่อยอมทุ่มเทแรงกายใจหรือแรงใจเพื่อลูกอีกด้วย
ศบค. เคาะ ฉีดวัคซีนสูตรไขว้ ซิโนแวค-ไฟเซอร์ เด็ก 6-17 ปี
ศบค. เห็นชอบตาม สธ. ไฟเขียว ฉีดวัคซีนสูตรไขว้ ซิโนแวค-ไฟเซอร์ เด็ก 6-17 ปี ขอให้ประชาชนมั่นใจว่าปลอดภัยและประสิทธิภาพสูง
นพ.วิชาญ ปาวัน ผอ.กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค แถลงถึงผลการประชุม ศบค. ว่าทางที่ประชุมเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณะสุขเสนอให้ ใช้วัคซีนที่รับการขึ้นทะเบียนจาก อย. ซึ่งปัจจุบันที่ฉีดอายุต่ำกว่า 18 ปีได้มี 3 ตัว คือ ไฟเซอร์ฝาสีส้มกลุ่มอายุ 5-11 ปี ไฟเซอร์ฝาสีม่วง อายุ 12-17 ปี และวัคซีนซิโนแวคและซิโนฟาร์ม อายุ 6-17 ปี การดำเนินการฉีดเริ่มจากเด็กที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรคก่อน
ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค.ที่ผ่านมา จากน้นเริ่มฉีดเด็กโต คือ ป.6 ไล่ลงไปถึง ป.1 ซึ่งดำเนินการตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งช่วงตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค. – 8 ก.พ. ได้ฉีดอายุ 5-11 ปีแล้ว 66,165 คน กรมควบคุมโรคได้ติดตามเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการรายงานผิดปกติในเด็ก
คำแนะนำการฉีดกลุ่มเด็กนั้น สธ.พิจารณาข้อมูลที่ผ่านความเห็นชอบจากผู้เชี่ยวชาญคณะต่างๆ มาออกนโยบาย ขอให้มั่นใจว่าประเภท ชนิด และสูตรของวัคซีนที่ สธ.ให้คำแนะนำผ่านการพิจารณารอบคอบ อยู่บนข้อมูลทางวิชาการ มาตรฐาน ความปลอดภัย และประสิทธิภาพสูงสุดที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทั้งสถานการณ์โควิดและจำนวนวัคซีนที่มี อย่างไฟเซอร์อายุ 5-11 ปี ซึ่งทั่วโลกมีความต้องการ เราก็สั่งซื้อโดยจะทยอยส่งเข้ามาสัปดาห์ละ 3-5 แสนโดส เป็นต้น
สำหรับคำแนะนำการฉีดวัคซีนอายุต่ำกว่า 18 ปี คือ 1.อายุ 5-11 ปี เป็นไฟเซอร์ฝาส้ม 2 เข็ม ขนาด 10 ไมโครกรัม 2 มิลลิลิตร ระยะห่าง 8 สัปดาห์ 2.เด็กอายุ 6-17 ปี ซิโนแวค 2 เข็ม ขนาด 0.5 มิลลิลิตร ห่าง 4 สัปดาห์ และ 3.เด็กอายุ 12-17 ปี ไฟเซอร์ 2 เข็ม ฝาม่วงขนาด 30 ไมโครกรัม 0.3 มิลลิลิตร ระยะห่าง 4 สัปดาห์นอกจากนี้ ยังมีสูตรไขว้ คือ ซิโนแวค-ไฟเซอร์
ซึ่งผ่านคำแนะนำคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค สำหรับเด็กอายุ 12-17 ปี โดยใช้ซิโนแวค 0.5 มิลลิลิตร และไฟเซอร์ฝาม่วง 30 ไมโครกรัม 0.3 มิลลิลิตร ส่วนกรณีเด็กเล็ก 6-11 ปี สูตรไขว้ต้องนำเข้าคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาอีกครั้ง เมื่อได้ข้อสรุปจะนำเสนออีกครั้ง
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพการดูแลความปลอดภัยในการให้บริการขนส่งทางราง รฟท. ยังได้จัดซื้อรถโบกี้ปั้นจั่นกลจำนวน 3 คัน ขนาดยกได้ไม่ต่ำกว่า 80 ตัน ซึ่งล่าสุดได้ขนส่งมาถึงประเทศไทย ที่ท่าเรือแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจะนำมาทดแทนรถโบกี้ปั้นจั่นกลรุ่นเก่า ที่ใช้เครื่องต้นกำลังเป็นไอน้ำจำนวน 3 คัน ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 57 ปี และมีความสามารถในการยกเพียง 35 ตัน ซึ่งไม่เพียงพอรองรับรถจักรและรถพ่วงรุ่นใหม่ที่มีน้ำหนักมากได้ จึงจำเป็นต้องใช้รถปั้นจั่นกลที่มีความสามารถในการยกสูงขึ้น และพ่วงในขบวนรถที่ใช้ความเร็วได้มากกว่าเดิม